บทความน่ารู้
แก้ไขล่าสุดเมื่อ:
29/05/2020
ทำธุรกิจ “แฟรนไชส์” ไม่ยาก หากทำตาม 6 ข้อนี้ รับรองรุ่งแน่!
อ่าน 324 ครั้ง •Food Truck ไม่ต้องมีหน้าร้านก็มีลูกค้าประจำได้
อ่าน 465 ครั้ง •8 อุตสาหกรรมที่ดีสำหรับการเริ่มต้นทำสตาร์ทอัพ
อ่าน 324 ครั้ง •ธุรกิจฮอตฮิตเกิดใหม่สูงสุด 3 อันดับแรกในเดือน พ.ค. 2562 คืออะไร ที่นี่มีคำตอบ
อ่าน 240 ครั้ง •ทำเบเกอรี่ขายส่ง ธุรกิจเงินล้านที่ "หอมหวน ชวนรวย"
อ่าน 921 ครั้ง •ธุรกิจ Fitness เจาะเทรนด์สุขภาพ (อ่านบทความนี้ก่อนเริ่มทำฟิตเนส!)
อ่าน 1303 ครั้ง •“สิงคโปร์” แซง “สหรัฐ” ขึ้นแท่นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในโลก
อ่าน 317 ครั้ง •ฟินเทค (FinTech) คืออะไร
อ่าน 3317 ครั้ง •เช็คลิสต์ โมเดลธุรกิจที่เหมาะกับการทำ อีคอมเมิร์ซ (eCommerce)
อ่าน 503 ครั้ง •ขายของออนไลน์ ทำอย่างไรให้รวย
อ่าน 354 ครั้ง •แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจเกษตรอินทรีย์
อ่าน 745 ครั้ง •การสนับสนุน SMEs โดยใช้ Crowd funding
อ่าน 571 ครั้ง •การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า – อย่าปล่อยให้โลโก้โดนขโมย
อ่าน 575 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) ต่างจาก แผนธุรกิจ (Business Plan) อย่างไร
อ่าน 1816 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) สำหรับสตาร์ทอัพ
อ่าน 1574 ครั้ง •เริ่มต้นธุรกิจใหม่ ต้องรู้ เตรียมตัวอย่างไร
อ่าน 633 ครั้ง •ผู้ประกอบการ SMEs เมื่อไหร่ ที่ต้องมีแบรนด์
อ่าน 272 ครั้ง •สมาร์ทฟาร์เมอร์ (Smart Farmer) เกษตรอัจฉริยะ เพื่อเกษตกรไทย
อ่าน 5701 ครั้ง •แอ็พพลิเคชั่น (Application) เพื่อสมาร์ทฟาร์เมอร์ – เกษตรกรแห่งอนาคต
อ่าน 504 ครั้ง •หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Ministry of Digital Economy and Society)
อ่าน 822 ครั้ง •สมาร์ทฟาร์เมอร์ (Smart Farmer) เกษตรอัจฉริยะ เพื่อเกษตกรไทย
อ่าน 5701 ครั้ง •ฟินเทค (FinTech) คืออะไร
อ่าน 3317 ครั้ง •แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจอาหาร
อ่าน 2447 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) ต่างจาก แผนธุรกิจ (Business Plan) อย่างไร
อ่าน 1816 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) สำหรับสตาร์ทอัพ
อ่าน 1574 ครั้ง •ธุรกิจ Fitness เจาะเทรนด์สุขภาพ (อ่านบทความนี้ก่อนเริ่มทำฟิตเนส!)
อ่าน 1303 ครั้ง •เขียนแผนธุรกิจอย่างไรให้โดน
อ่าน 1002 ครั้ง •ทำเบเกอรี่ขายส่ง ธุรกิจเงินล้านที่ "หอมหวน ชวนรวย"
อ่าน 921 ครั้ง •หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Ministry of Digital Economy and Society)
อ่าน 822 ครั้ง •แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจเกษตรอินทรีย์
อ่าน 745 ครั้ง •เงินสดหมุนเวียน หัวใจของธุรกิจ SMEs
อ่าน 724 ครั้ง •การวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์
อ่าน 655 ครั้ง •การวางแผนการลงทุนเพื่อขยายกิจการ
อ่าน 654 ครั้ง •Business Model Canvas เครื่องมือสร้างโมเดลธุรกิจ
อ่าน 648 ครั้ง •การเขียนแผนธุรกิจเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุน
อ่าน 636 ครั้ง •เริ่มต้นธุรกิจใหม่ ต้องรู้ เตรียมตัวอย่างไร
อ่าน 633 ครั้ง •E - COMMERCE สำหรับสินค้า OTOP
อ่าน 631 ครั้ง •สาเหตุอะไรที่สถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้
อ่าน 622 ครั้ง •การปรับโครงสร้างหนี้
อ่าน 621 ครั้ง •แหล่งเงินทุนของ SMEs
อ่าน 587 ครั้ง •ขายของออนไลน์ ทำอย่างไรให้รวย
01 เมษายน 2562
35 | ขายของออนไลน์ ทำอย่างไรให้รวย
หลายๆ ท่านอาจกำลังเจอกับปัญหาโลกแตกที่ว่า ทำไมลูกค้าไม่ยอมซื้อของจากเว็บเราซักที บางคนก็ตั้งข้อสงสัยกับตัวเองว่า เราทำอะไรพลาดกันแน่?
มาเจาะลึกกันดูว่า ลูกค้ามีความต้องการอะไรบ้าง ก่อนที่จะเลือกซื้อสินค้าผ่านทางเว็บของเรา
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ข้อเสียส่วนใหญ่ที่ทำให้ลูกค้าไม่อยากซื้อของในอินเตอร์เน็ท เป็นเพราะ ลูกค้านั้นไม่สามารถลองสินค้าได้ เช่น การลองสัมผัส การลองสวมใส่ ซึ่งจุดนี้เองทำให้ลูกค้าเกิดความกังวลต่อตัวสินค้า อย่างเช่นว่า ขนาดของสินค้าจะมีขนาดที่ใหญ่หรือเล็กกว่าในรูปไหม? หรือซื้อมาแล้วจะใส่ได้รึเปล่า?
มาทำความรู้จักกับความต้องการของลูกค้ากันดีกว่า
4 วิธีขายของออนไลน์ให้ ปัง!
กฎข้อที่ 1 ความประทับใจแรก
เชื่อว่าหลายๆ คนที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ น่าจะต้องเคยเจอเว็บที่พอเราเปิดเข้าไปครั้งแรกแล้ว ถึงกับปิดแทบไม่ทันเลยทีเดียว! เนื่องด้วยความที่มันดูใช้งานยาก ไม่สวยถูกใจเรา
แน่นอนตัวลูกค้าของเราเอง ก็อยากใช้เว็บที่ถูกใจเช่นกัน! มีผลวิจัยออกมาว่าลูกค้าที่เกิดความไม่ประทับใจในครั้งแรกที่เข้าเว็บ จะทำให้มีโอกาสที่ลูกค้าคนนั้น กลับมาใช้เว็บอีกครั้งมีน้อยมาก จุดหลักๆ ที่ลูกค้าอยากได้จากการเข้าเว็บครั้งแรกมี 3 ข้อใหญ่ๆ ด้วยกัน ได้แก่
1. การออกแบบเว็บที่มีความสวยงาม
2. การทำให้เว็บเข้าใจง่าย
3. ความเร็วในการโหลดตัวเว็บ
หากเรากำลังเปิดเว็บขายของอยู่ ลองกลับไปเช็คกันดูว่าทั้ง 3 ข้อนี้ มีข้อไหนที่เราตกหล่นไปไหม อีกทั้งยังรวมไปถึงการออกแบบตัวเว็บของเรา ให้เข้ากับหน้าจอมือถืออีกด้วย เพราะเราคงปฎิเสธไม่ได้ว่า ยุคนี้ลูกค้าส่วนใหญ่ใช้ smartphone ในการเลือกซื้อสินค้ากันเป็นจำนวนมาก
กฎข้อที่ 2 การบอกต่อใน Social
นี่เป็นข้อที่มีความสำคัญที่สุดในกฎ 4 ข้อเลยก็ว่าได้ ถึงแม้ว่าเว็บของเรานั้นจะมีความสวยงามและมีความน่าใช้ขนาดไหนก็ตาม แต่ลูกค้าจะรู้ได้อย่างไรว่าสินค้าของเรานั้นดีจริงหรือไม่
มีผลการวิจัยออกมาแล้วว่า ลูกค้าส่วนใหญ่เลือกที่จะซื้อสินค้า โดยดูจากคนใกล้ตัว เช่น เพื่อนหรือญาติสนิท ส่วนรองลงมานั้น จะเป็นการเลือกที่จะเชื่อการรีวิวบน Social Network ต่างๆเป็นหลัก เช่น Facebook, Pantip มากกว่าที่จะเชื่อการรีวิวจากเว็บผู้ขายโดยตรง อีกทั้งลูกค้ายังใช้การรีวิวพวกนี้ เป็นตัวเปรียบเทียบความเหมือนของตัวสินค้า ที่แต่ละเว็บได้นำเสนอไว้อีกด้วย
กฎข้อที่ 3 สร้างความน่าเชื่อถือ
แน่นอนว่าเมื่อเราอยากจะใช้การชำระเงินผ่านระบบต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ท อย่างแรกเลยที่เราต้องคำนึงถึงนั่นก็คือ เว็บมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างไร (มากน้อยแค่ไหน) เว็บเชื่อถือได้หรือไม่
วิธีการแก้ปัญหานี้ได้แก่ การทำให้ระบบชำระเงินของเว็บเรา มีความเป็นสากล เช่น เลือกใช้บัตรเครดิตที่มีชื่อเสียงหรือ payment gateway (ระบบจ่ายเงิน)ที่น่าเชื่อถือ
ที่สำคัญเรายังสามารถเพิ่มความสบายใจให้กับลูกค้าได้มากขึ้น โดยการทำให้เว็บของเรา มีระบบ Live Chat เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อ มีการลงเบอร์โทรและ e-mail ให้ชัดเจนบนหน้าเว็บของเรา เพื่อที่ลูกค้าจะได้รู้สึกสบายใจในการชำระเงิน เพราะสามารถติดต่อเจ้าของเว็บได้ง่าย หรือถ้าสามารถเพิ่มนโยบายรับประกันสินค้า เช่น รับประกัน 15 วัน หากสินค้าชำรุด สามารถปลี่ยนได้ ก็จะยิ่งเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าขึ้นไปอีก
กฎข้อที่ 4 เปลี่ยนลูกค้าขาจร ให้เป็นลูกค้าขาประจำ
ในเมื่อเราเริ่มมีลูกค้าอยู่ในมือของเราแล้ว ทำไมเราไม่ใช้พวกเขาให้เป็นประโยชน์ล่ะ! หลังจากที่เราขายสินค้าจนลูกค้าเชื่อมั่นและชื่นชอบในสินค้าของเราแล้ว เราควรจะทำให้ลูกค้าอยากกลับมารีวิวสินค้าของเราด้วย อย่างเช่น เราอาจจะลองจัดโปรโมชั่นให้คูปองแก่ลูกค้า หากรีวิวสินค้าให้เรา หรืออาจจะมีส่วนลดในครั้งต่อๆไปถ้าหากมีการรีวิวสินค้า แล้วถ้าเราสามารถทำให้ลูกค้าถ่ายรูปคู่กับสินค้าของเราก็จะยิ่งเป็นผลดีขึ้นไปอีก
การสร้างความเชื่อมั่นกับตัวลูกค้าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถ้าหากเราจับจุดได้ล่ะก็ เชื่อว่าเว็บของเราจะขายของได้เป็นเทนํ้าเทท่าอย่างแน่นอน อย่าลืมไปทำตามกฏ 4 ข้อนี้ดูนะครับ
ที่มา :https://www.entrepreneur.com/article/272006
แหล่งข้อมูล :
• 4 วิธีขายของออนไลน์ให้ ปัง!
• ข้อมูลบนโลกออนไลน์ที่เผยแพร่แก่สาธารณะ
องค์ความรู้เพื่อการให้บริการแก่ SMEs จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น
สำหรับหน่วยให้บริการ SMEs ภายใต้โครงการศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร
จัดทำ ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2560
01 เมษายน 2562
35 | ขายของออนไลน์ ทำอย่างไรให้รวย
หลายๆ ท่านอาจกำลังเจอกับปัญหาโลกแตกที่ว่า ทำไมลูกค้าไม่ยอมซื้อของจากเว็บเราซักที บางคนก็ตั้งข้อสงสัยกับตัวเองว่า เราทำอะไรพลาดกันแน่?
มาเจาะลึกกันดูว่า ลูกค้ามีความต้องการอะไรบ้าง ก่อนที่จะเลือกซื้อสินค้าผ่านทางเว็บของเรา
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ข้อเสียส่วนใหญ่ที่ทำให้ลูกค้าไม่อยากซื้อของในอินเตอร์เน็ท เป็นเพราะ ลูกค้านั้นไม่สามารถลองสินค้าได้ เช่น การลองสัมผัส การลองสวมใส่ ซึ่งจุดนี้เองทำให้ลูกค้าเกิดความกังวลต่อตัวสินค้า อย่างเช่นว่า ขนาดของสินค้าจะมีขนาดที่ใหญ่หรือเล็กกว่าในรูปไหม? หรือซื้อมาแล้วจะใส่ได้รึเปล่า?
มาทำความรู้จักกับความต้องการของลูกค้ากันดีกว่า
4 วิธีขายของออนไลน์ให้ ปัง!
กฎข้อที่ 1 ความประทับใจแรก
เชื่อว่าหลายๆ คนที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ น่าจะต้องเคยเจอเว็บที่พอเราเปิดเข้าไปครั้งแรกแล้ว ถึงกับปิดแทบไม่ทันเลยทีเดียว! เนื่องด้วยความที่มันดูใช้งานยาก ไม่สวยถูกใจเรา
แน่นอนตัวลูกค้าของเราเอง ก็อยากใช้เว็บที่ถูกใจเช่นกัน! มีผลวิจัยออกมาว่าลูกค้าที่เกิดความไม่ประทับใจในครั้งแรกที่เข้าเว็บ จะทำให้มีโอกาสที่ลูกค้าคนนั้น กลับมาใช้เว็บอีกครั้งมีน้อยมาก จุดหลักๆ ที่ลูกค้าอยากได้จากการเข้าเว็บครั้งแรกมี 3 ข้อใหญ่ๆ ด้วยกัน ได้แก่
1. การออกแบบเว็บที่มีความสวยงาม
2. การทำให้เว็บเข้าใจง่าย
3. ความเร็วในการโหลดตัวเว็บ
หากเรากำลังเปิดเว็บขายของอยู่ ลองกลับไปเช็คกันดูว่าทั้ง 3 ข้อนี้ มีข้อไหนที่เราตกหล่นไปไหม อีกทั้งยังรวมไปถึงการออกแบบตัวเว็บของเรา ให้เข้ากับหน้าจอมือถืออีกด้วย เพราะเราคงปฎิเสธไม่ได้ว่า ยุคนี้ลูกค้าส่วนใหญ่ใช้ smartphone ในการเลือกซื้อสินค้ากันเป็นจำนวนมาก
กฎข้อที่ 2 การบอกต่อใน Social
นี่เป็นข้อที่มีความสำคัญที่สุดในกฎ 4 ข้อเลยก็ว่าได้ ถึงแม้ว่าเว็บของเรานั้นจะมีความสวยงามและมีความน่าใช้ขนาดไหนก็ตาม แต่ลูกค้าจะรู้ได้อย่างไรว่าสินค้าของเรานั้นดีจริงหรือไม่
มีผลการวิจัยออกมาแล้วว่า ลูกค้าส่วนใหญ่เลือกที่จะซื้อสินค้า โดยดูจากคนใกล้ตัว เช่น เพื่อนหรือญาติสนิท ส่วนรองลงมานั้น จะเป็นการเลือกที่จะเชื่อการรีวิวบน Social Network ต่างๆเป็นหลัก เช่น Facebook, Pantip มากกว่าที่จะเชื่อการรีวิวจากเว็บผู้ขายโดยตรง อีกทั้งลูกค้ายังใช้การรีวิวพวกนี้ เป็นตัวเปรียบเทียบความเหมือนของตัวสินค้า ที่แต่ละเว็บได้นำเสนอไว้อีกด้วย
กฎข้อที่ 3 สร้างความน่าเชื่อถือ
แน่นอนว่าเมื่อเราอยากจะใช้การชำระเงินผ่านระบบต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ท อย่างแรกเลยที่เราต้องคำนึงถึงนั่นก็คือ เว็บมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างไร (มากน้อยแค่ไหน) เว็บเชื่อถือได้หรือไม่
วิธีการแก้ปัญหานี้ได้แก่ การทำให้ระบบชำระเงินของเว็บเรา มีความเป็นสากล เช่น เลือกใช้บัตรเครดิตที่มีชื่อเสียงหรือ payment gateway (ระบบจ่ายเงิน)ที่น่าเชื่อถือ
ที่สำคัญเรายังสามารถเพิ่มความสบายใจให้กับลูกค้าได้มากขึ้น โดยการทำให้เว็บของเรา มีระบบ Live Chat เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อ มีการลงเบอร์โทรและ e-mail ให้ชัดเจนบนหน้าเว็บของเรา เพื่อที่ลูกค้าจะได้รู้สึกสบายใจในการชำระเงิน เพราะสามารถติดต่อเจ้าของเว็บได้ง่าย หรือถ้าสามารถเพิ่มนโยบายรับประกันสินค้า เช่น รับประกัน 15 วัน หากสินค้าชำรุด สามารถปลี่ยนได้ ก็จะยิ่งเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าขึ้นไปอีก
กฎข้อที่ 4 เปลี่ยนลูกค้าขาจร ให้เป็นลูกค้าขาประจำ
ในเมื่อเราเริ่มมีลูกค้าอยู่ในมือของเราแล้ว ทำไมเราไม่ใช้พวกเขาให้เป็นประโยชน์ล่ะ! หลังจากที่เราขายสินค้าจนลูกค้าเชื่อมั่นและชื่นชอบในสินค้าของเราแล้ว เราควรจะทำให้ลูกค้าอยากกลับมารีวิวสินค้าของเราด้วย อย่างเช่น เราอาจจะลองจัดโปรโมชั่นให้คูปองแก่ลูกค้า หากรีวิวสินค้าให้เรา หรืออาจจะมีส่วนลดในครั้งต่อๆไปถ้าหากมีการรีวิวสินค้า แล้วถ้าเราสามารถทำให้ลูกค้าถ่ายรูปคู่กับสินค้าของเราก็จะยิ่งเป็นผลดีขึ้นไปอีก
การสร้างความเชื่อมั่นกับตัวลูกค้าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถ้าหากเราจับจุดได้ล่ะก็ เชื่อว่าเว็บของเราจะขายของได้เป็นเทนํ้าเทท่าอย่างแน่นอน อย่าลืมไปทำตามกฏ 4 ข้อนี้ดูนะครับ
ที่มา :https://www.entrepreneur.com/article/272006
แหล่งข้อมูล :
• 4 วิธีขายของออนไลน์ให้ ปัง!
• ข้อมูลบนโลกออนไลน์ที่เผยแพร่แก่สาธารณะ
องค์ความรู้เพื่อการให้บริการแก่ SMEs จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น
สำหรับหน่วยให้บริการ SMEs ภายใต้โครงการศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร
จัดทำ ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2560
การอ่าน | |
---|---|
354 | ครั้ง (ทั้งหมด) |
0 | ครั้ง โดยสมาชิก |
354 | ครั้ง โดยสาธารณะ |
แชร์ด้วยอีเมล
กรุณา ลงชื่อเข้าระบบ เพิ่มแชร์เนื้อหานี้ webpage ทางอีเมล