บทความน่ารู้
ทำธุรกิจ “แฟรนไชส์” ไม่ยาก หากทำตาม 6 ข้อนี้ รับรองรุ่งแน่!
อ่าน 318 ครั้ง •Food Truck ไม่ต้องมีหน้าร้านก็มีลูกค้าประจำได้
อ่าน 461 ครั้ง •8 อุตสาหกรรมที่ดีสำหรับการเริ่มต้นทำสตาร์ทอัพ
อ่าน 323 ครั้ง •ธุรกิจฮอตฮิตเกิดใหม่สูงสุด 3 อันดับแรกในเดือน พ.ค. 2562 คืออะไร ที่นี่มีคำตอบ
อ่าน 237 ครั้ง •ทำเบเกอรี่ขายส่ง ธุรกิจเงินล้านที่ "หอมหวน ชวนรวย"
อ่าน 915 ครั้ง •ธุรกิจ Fitness เจาะเทรนด์สุขภาพ (อ่านบทความนี้ก่อนเริ่มทำฟิตเนส!)
อ่าน 1288 ครั้ง •“สิงคโปร์” แซง “สหรัฐ” ขึ้นแท่นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในโลก
อ่าน 313 ครั้ง •ฟินเทค (FinTech) คืออะไร
อ่าน 3252 ครั้ง •เช็คลิสต์ โมเดลธุรกิจที่เหมาะกับการทำ อีคอมเมิร์ซ (eCommerce)
อ่าน 496 ครั้ง •ขายของออนไลน์ ทำอย่างไรให้รวย
อ่าน 352 ครั้ง •แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจเกษตรอินทรีย์
อ่าน 739 ครั้ง •การสนับสนุน SMEs โดยใช้ Crowd funding
อ่าน 569 ครั้ง •การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า – อย่าปล่อยให้โลโก้โดนขโมย
อ่าน 572 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) ต่างจาก แผนธุรกิจ (Business Plan) อย่างไร
อ่าน 1798 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) สำหรับสตาร์ทอัพ
อ่าน 1559 ครั้ง •เริ่มต้นธุรกิจใหม่ ต้องรู้ เตรียมตัวอย่างไร
อ่าน 624 ครั้ง •ผู้ประกอบการ SMEs เมื่อไหร่ ที่ต้องมีแบรนด์
อ่าน 271 ครั้ง •สมาร์ทฟาร์เมอร์ (Smart Farmer) เกษตรอัจฉริยะ เพื่อเกษตกรไทย
อ่าน 5639 ครั้ง •แอ็พพลิเคชั่น (Application) เพื่อสมาร์ทฟาร์เมอร์ – เกษตรกรแห่งอนาคต
อ่าน 496 ครั้ง •หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Ministry of Digital Economy and Society)
อ่าน 813 ครั้ง •สมาร์ทฟาร์เมอร์ (Smart Farmer) เกษตรอัจฉริยะ เพื่อเกษตกรไทย
อ่าน 5639 ครั้ง •ฟินเทค (FinTech) คืออะไร
อ่าน 3252 ครั้ง •แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจอาหาร
อ่าน 2423 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) ต่างจาก แผนธุรกิจ (Business Plan) อย่างไร
อ่าน 1798 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) สำหรับสตาร์ทอัพ
อ่าน 1559 ครั้ง •ธุรกิจ Fitness เจาะเทรนด์สุขภาพ (อ่านบทความนี้ก่อนเริ่มทำฟิตเนส!)
อ่าน 1288 ครั้ง •เขียนแผนธุรกิจอย่างไรให้โดน
อ่าน 998 ครั้ง •ทำเบเกอรี่ขายส่ง ธุรกิจเงินล้านที่ "หอมหวน ชวนรวย"
อ่าน 915 ครั้ง •หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Ministry of Digital Economy and Society)
อ่าน 813 ครั้ง •แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจเกษตรอินทรีย์
อ่าน 739 ครั้ง •เงินสดหมุนเวียน หัวใจของธุรกิจ SMEs
อ่าน 722 ครั้ง •การวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์
อ่าน 651 ครั้ง •การวางแผนการลงทุนเพื่อขยายกิจการ
อ่าน 649 ครั้ง •Business Model Canvas เครื่องมือสร้างโมเดลธุรกิจ
อ่าน 643 ครั้ง •การเขียนแผนธุรกิจเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุน
อ่าน 633 ครั้ง •E - COMMERCE สำหรับสินค้า OTOP
อ่าน 626 ครั้ง •เริ่มต้นธุรกิจใหม่ ต้องรู้ เตรียมตัวอย่างไร
อ่าน 624 ครั้ง •การปรับโครงสร้างหนี้
อ่าน 616 ครั้ง •สาเหตุอะไรที่สถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้
อ่าน 615 ครั้ง •แหล่งเงินทุนของ SMEs
อ่าน 582 ครั้ง •แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจอาหาร
แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจอาหาร
การส่งออกอาหารไทยไปตลาดโลกของไทยได้ไต่อันดับสู่อันดับที่ 13 ของโลก ถือเป็นสัญญาณที่ดีของอุตสาหกรรมอาหารไทยที่จะเติบโตอย่างงดงามท่ามกลางการแข่งขันจากผู้ผลิตอาหารนานานับประเทศ
และการที่โลกขับเคลื่อนเข้าสู่ยุค 4.0 ได้ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพ่อค้าคนกลาง จากผู้ผลิตอาหารเป็นผู้ประกอบการและส่งตรงถึงลูกค้าได้โดยตรง และเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการอาหารทุกขนาดทั้งแต่ SME Startup และผู้ประกอบการรายใหญ่ลงแข่งขันในสนามเดียวกันได้อย่างเต็มขีดความสามารถ
แต่การแข่งขันในยุค 4.0 วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) แนะนำไทยต้องตื่นตัวในการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ เนื่องจากจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้กับตัวผลิตภัณฑ์และธุรกิจ อันจะนำไปสู่การแก้ไขข้อบกพร่องของประเทศไทย ที่มีการส่งออกวัตถุดิบอาหารจำนวนมาก แต่มีมูลค่าน้อย ทำให้ไม่สามารถแข่งขันในเรื่องตัวเลขภาพรวมรายได้การส่งออกได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ผ่านหัวใจหลักที่สำคัญ 3 ประการ คือ
เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต (Productivity)
นวัตกรรมสามารถใช้เพื่อพัฒนาภาคการผลิต โดยเฉพาะในธุรกิจต้นน้ำ เช่น ผลิตผลทางการเกษตรและปศุสัตว์ ให้มีปริมาณมากขึ้น รองรับกับการเติบโตของจำนวนผู้บริโภคทั่วโลก ตลอดจนลดอัตราการสูญเสียจากปัจจัยต่างๆ เช่น ปัญหาทางสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change)
พัฒนาด้านความปลอดภัย (Safety)
ประเด็นด้านความปลอดภัยเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดในธุรกิจอาหาร ซึ่งนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถช่วยพัฒนาและควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยในทุกกระบวนการผลิตอาหาร
ผลิตอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ (Healthy & Wellness)
อาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy & Functional Food) เป็นเทรนด์ระดับโลกที่ผู้บริโภคทุกประเทศให้ความสนใจเป็นอันดับ 1 โดยในปัจจุบันหัวใจหลักที่ใช้เป็นตัวตัดสินในตลาดธุรกิจอาหาร คือ การคิดค้นและพัฒนาอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาอาหารสุขภาพเพื่อตอบโจทย์สังคมสูงวัย (Aging Society)
ที่มา : SIE Seminar “FOOD TECH 4.0 ปั้นให้ปัง ดังแบบก้าวกระโดด” วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
ทั้งนี้ที่ผ่านมากรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ กสอ. ได้เผยแพร่รายชื่อ 10 ตัวอย่างนวัตกรรมอาหารแปรรูปฝีมือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยตอบโจทย์ตลาด 10 ชาติในอาเซียน โดย ดร.อรรชกา สีบุญเรือง อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กล่าวว่า อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2557 (ม.ค.-มิ.ย) สร้างรายได้ให้แก่ประเทศกว่า 5-6 แสนล้านบาท (ข้อมูลจากสถาบันอาหาร) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6 เมื่อเทียบจากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา ตลอดจนในปี 2558
ในโอกาสที่ไทยจะเข้าเป็นส่วนหนึ่งในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กสอ.ได้เปิดตัวนวัตกรรมอาหารทั้ง 10 ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นแรงบันดาลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารของตลาดในอาเซียนทั้ง 10 ชาติ ได้แก่
1. ขนมลอยแก้วแบบไทยๆ หวานจับใจคน “อิเหนา” จาก บริษัท ไทยริชฟูดส์ จำกัด ผู้ผลิตและส่งออกขนมหวานสำเร็จรูปแช่แข็ง เช่น ลูกตาล แตงโม กีวี ลอยแก้ว ฯลฯ เหมาะที่จะส่งออกในประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากเป็นประเทศที่ชื่นชอบรสหวาน ประกอบกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของคนอินโดนีเซียที่ต้องการความเร่งรีบ สะดวกสบาย และประหยัดเวลาในการบริโภคอาหาร (ข้อมูลจากวารสารอุตสาหกรรมสาร) ซึ่งขนมหวานแช่แข็งของไทยริชฟูดส์เป็นหนึ่งตัวอย่างอุตสาหกรรมอาหารที่สามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้
2. ซีเรียลบาร์ธัญพืชอัดแท่งเพื่อสุขภาพโดนใจสาวเวียดนาม จาก บริษัท ซองเดอร์ ไทยออร์กานิคฟูด จำกัด ผู้ผลิตสินค้าแปรรูปอาหารและเครื่องดื่ม โดยนำเอาวัตถุดิบธัญพืชการเกษตรอินทรีย์ไร้สารพิษแบบเต็มเมล็ด ไม่สกัดเปลือก แปรรูปเป็นอาหารกินเล่นเพื่อสุขภาพแต่มีรสชาติดี เหมาะแก่การส่งออกไปยังประเทศเวียดนาม เนื่องจากผลสำรวจสินค้าไทยที่ทำรายได้ในเวียดนามได้ดี คือ ขนมขบเคี้ยว ผลิตภัณฑ์นม เครื่องดื่ม เป็นต้น (ข้อมูลจากสถาบันอาหาร) ประกอบกับพฤติกรรมการบริโภคของคนในประเทศที่หันมาใส่ใจและรักษาสุขภาพกันมากขึ้น (ข้อมูลจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย)
3. ชาไทยรสชาติถูกใจพี่น้องพม่า ชาไทยแท้จากดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย ของคุณกฤษฎิ์ภูมิ ปทุมชัย โดยชาไทยดอยคำ มีหลายประเภท เช่น ชาอู่หลง ชาเขียว ชาเจียวกู่หลัน เป็นต้น ซึ่งมีการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ปลอดสารเคมี และอุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคมีสุขภาพดี เหมาะแก่การส่งออกไปยังประเทศพม่า จากการสำรวจพบว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทชามีแนวโน้มเติบโตได้ดีในพม่า นอกจากนี้ชาวพม่ายังนิยมดื่มชากาแฟเพื่อเป็นการผ่อนคลายอีกด้วย (ข้อมูลจากสถาบันอาหาร)
4. ชาวกัมพูชาชอบอาหารทะเลและน้ำผักผลไม้กระป๋อง จาก บริษัท สันติภาพ (ฮั่วเพ้ง 1958) จำกัด เหมาะแก่การส่งออกในประเทศกัมพูชา เนื่องจากผลิตภัณฑ์จำพวกอาหารแปรรูป และน้ำผลไม้ มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในกัมพูชา อีกทั้งมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ปัจจุบันในประเทศกัมพูชาการผลิตอาหารและเครื่องดื่มในประเทศไม่เพียงพอในการบริโภคภายในประเทศ (ข้อมูลจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
5. ขนมเปี๊ยะ ของกินเล่นถูกใจคนลาว จาก บริษัท ขนมแม่เอย-เปี๊ยะ แอนด์ พาย (2003) จำกัด เป็นขนมที่มีความอร่อยเป็นจุดเด่น ประกอบกับไม่ใส่สารกันบูด เจือสีหรือแต่งกลิ่น เหมาะที่จะส่งออกไปยังประเทศลาว เนื่องจากวัฒนธรรมการกินของคนไทยกับคนลาวมีความใกล้เคียงกัน ตลอดจนในประเทศลาวมีคนจีนอาศัยอยู่มากจึงมีตลาดรองรับ ประกอบกับในลาวยังไม่มีผู้ผลิตขนมเปี๊ยะ (ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ)
6. เยลลีวัยทอง จาก บริษัท กวนอิมริชเช็สริส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตขนมกัมมีเยลลี เพื่อสุขภาพของผู้หญิงวัยทอง เหมาะสำหรับประเทศไทยที่มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับผู้คนเริ่มหันมาใส่ใจและรักสุขภาพ ทั้งนี้ เยลลีวัยทองจะมีส่วนผสมของมะขามเปรี้ยวเข้มข้น ปาปริกา มีรสเปรี้ยว หวาน และเผ็ดเล็กน้อย ซึ่งผ่านการพิสูจน์ทางการแพทย์แล้วพบว่าสามารถช่วยลดอาการวัยทองได้ นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมของสารสกัดจากเห็ดหลินจือแดงไลโคปีนโคเอนไซม์-คิวเท็นวิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียมจากสาหร่ายทะเล ที่จะช่วยบำรุงกระดูกต่างๆ เป็นต้น
7. ผลไม้อบแห้งสแน็กกิ๊บเก๋สำหรับฟิลิปปินส์ จากห้างหุ้นส่วนจำกัดแม่ตะเพียนการเกษตรผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลไม้อบแห้ง เช่น กล้วยตาก มะม่วงหยี มะม่วงคลุก ฯลฯ เหมาะสำหรับการส่งออกไปยังประเทศฟิลิปปินส์ เนื่องจากผลไม้อบแห้งเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์อาหารสำคัญที่ฟิลิปปินส์นำเข้า เนื่องจากประชากรในประเทศมีจำนวนมากและมีความต้องการสินค้าอาหารสูงทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ประกอบกับเทคโนโลยีที่ยังไม่ทันสมัยนัก อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่นำเข้าต้องได้รับการจดทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งแม่ตะเพียนก็ได้จดทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (ข้อมูลจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย)
8. อาหารทะเลแช่แข็งตอบดีมานด์ประเทศสิงโตทะเล จาก บริษัท อุตสาหกรรมทวีวงษ์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอาหารทะเลแช่แข็งรายใหญ่ของไทย ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาสินค้ารูปแบบใหม่ๆ และขยายตลาดให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง เหมาะอย่างยิ่งในการส่งออกไปยังประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากอาหารประเภทแช่แข็งเป็นสินค้าอันดับต้นๆ ที่สิงคโปร์สั่งนำเข้า ประกอบกับได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในประเทศอย่างต่อเนื่อง เพราะสะดวกต่อการรับประทานและเก็บรักษาได้นาน ทั้งนี้ยังได้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานจาก GMP HACCP HALAL Q-Mark ISO 9001: 2008 และ OTOP ระดับ 5 ดาว (ข้อมูลจาก บริษัท อุตสาหกรรมทวีวงษ์ จำกัด)
9. เครื่องแกงปักษ์ใต้ “จะโหรม” ถูกปาก “มาเลย์” จากบริษัทดีแอนด์จี ฟู๊ดซัพพลาย จำกัด ที่มีจำนวนเครื่องแกงกว่า 20 รายการ เช่น พริกแกงเนื้อ พริกแกงกะหรี่ พริกแกงผัดเผ็ด เป็นต้น ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งต่อประเทศที่ชื่นชอบอาหารที่มีรสเผ็ด และจัดจ้านอย่างประเทศมาเลเซียเนื่องจากเป็นคนแถบเอเชีย ย่อมมีวัฒนธรรมการกินที่คล้ายกับคนไทย อีกทั้งมีความชื่นชอบรสชาติเครื่องแกงเช่นกัน ประกอบกับการทำอาหารของคนมาเลเซียที่เน้นการใช้สมุนไพร เครื่องเทศ พริกที่มีรสเผ็ดในการปรุงอาหาร
10. เกี๊ยวซ่าไก่ฮาลาล จากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป (แปดริ้ว) เหมาะที่จะส่งออกในประเทศบรูไน เนื่องจากเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม จำเป็นต้องเลี่ยงอาหารที่ทำจากเนื้อหมูทุกประเภท โดยตัวแป้งที่ใช้จะมีความหอมนุ่มสูตรเฉพาะของซีพี ภายในจะมีไก่และผักปรุงรส กินพร้อมน้ำจิ้มที่มีรสชาติกลมกล่อม ซึ่งจะได้ทั้งความอร่อยและคุณประโยชน์มากมาย ทั้งนี้กระบวนการผลิตของซีพีได้รับมาตรฐานระดับสากลด้วยระบบ GMP HACCP HALAL และ ISO 9001: 2008
ทั้งนี้ ปัจจุบัน กสอ.มีโครงการในการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารจำนวนหลายโครงการ เช่น โครงการการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (National Agro Processing Industry Alliance : NAPIA) โครงการที่ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมอาหารให้เป็นคลัสเตอร์อาหารไทยเข้มแข็ง ซึ่งเน้นการพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพ โครงการห่วงโซ่สีเขียวอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป เป็นต้น ตั้งแต่ปี 2555-2557 สามารถพัฒนาผู้ประกอบการอาหารแปรรูปได้กว่า 750 รายการ
อีกทั้ง กสอ.ได้เตรียมความพร้อมและยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการ SMEs ไทยให้ก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างมั่นคง พร้อมทั้งผลักดันครัวไทยสู่โลก โดยเน้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ พร้อมให้ความรู้ในด้านการตลาด การเจรจาธุรกิจ รวมถึงระเบียบข้อบังคับ ฯลฯ
|
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สร้างแนวคิดนวัตกรรมธุรกิจอาหาร โดย ดร. สุรอรรถ ศุภจัตุรัส ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจชีวภาพ สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) ได้ ที่นี่
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม 9 นวัตกรรมอาหารสุดเจ๋ง สร้างสรรค์จากกึ๋น SMEs ไทย นวัตกรรมอาหารภายใต้โครงการไทยแลนด์ฟู้ดวัลเลย์ ซึ่งนำงานวิจัยมาต่อยอดผลิตสินค้าเชิงนวัตกรรม ได้ ที่นี่
แหล่งข้อมูล :
- นวัตกรรมอาหาร 4.0 มาแน่ในปี 60
- เปิดตัว 10 นวัตกรรมอาหารแปรรูปไทย ตอบโจทย์รสนิยม 10 ชาติอาเซียน
- ข้อมูลบนโลกออนไลน์ที่เผยแพร่แก่สาธารณะ
องค์ความรู้เพื่อการให้บริการแก่ SMEs จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น
สำหรับหน่วยให้บริการ SMEs ภายใต้โครงการศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร
จัดทำ ณ วันที่ 28 สิงหาคม 2560
การอ่าน | |
---|---|
2423 | ครั้ง (ทั้งหมด) |
0 | ครั้ง โดยสมาชิก |
2423 | ครั้ง โดยสาธารณะ |
แชร์ด้วยอีเมล
กรุณา ลงชื่อเข้าระบบ เพิ่มแชร์เนื้อหานี้ webpage ทางอีเมล