บทความน่ารู้
แก้ไขล่าสุดเมื่อ:
30/05/2020
ทำธุรกิจ “แฟรนไชส์” ไม่ยาก หากทำตาม 6 ข้อนี้ รับรองรุ่งแน่!
อ่าน 309 ครั้ง •Food Truck ไม่ต้องมีหน้าร้านก็มีลูกค้าประจำได้
อ่าน 451 ครั้ง •8 อุตสาหกรรมที่ดีสำหรับการเริ่มต้นทำสตาร์ทอัพ
อ่าน 318 ครั้ง •ธุรกิจฮอตฮิตเกิดใหม่สูงสุด 3 อันดับแรกในเดือน พ.ค. 2562 คืออะไร ที่นี่มีคำตอบ
อ่าน 227 ครั้ง •ทำเบเกอรี่ขายส่ง ธุรกิจเงินล้านที่ "หอมหวน ชวนรวย"
อ่าน 870 ครั้ง •ธุรกิจ Fitness เจาะเทรนด์สุขภาพ (อ่านบทความนี้ก่อนเริ่มทำฟิตเนส!)
อ่าน 1217 ครั้ง •“สิงคโปร์” แซง “สหรัฐ” ขึ้นแท่นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในโลก
อ่าน 302 ครั้ง •ฟินเทค (FinTech) คืออะไร
อ่าน 2757 ครั้ง •เช็คลิสต์ โมเดลธุรกิจที่เหมาะกับการทำ อีคอมเมิร์ซ (eCommerce)
อ่าน 475 ครั้ง •ขายของออนไลน์ ทำอย่างไรให้รวย
อ่าน 338 ครั้ง •แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจเกษตรอินทรีย์
อ่าน 709 ครั้ง •การสนับสนุน SMEs โดยใช้ Crowd funding
อ่าน 544 ครั้ง •การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า – อย่าปล่อยให้โลโก้โดนขโมย
อ่าน 549 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) ต่างจาก แผนธุรกิจ (Business Plan) อย่างไร
อ่าน 1686 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) สำหรับสตาร์ทอัพ
อ่าน 1495 ครั้ง •เริ่มต้นธุรกิจใหม่ ต้องรู้ เตรียมตัวอย่างไร
อ่าน 582 ครั้ง •ผู้ประกอบการ SMEs เมื่อไหร่ ที่ต้องมีแบรนด์
อ่าน 262 ครั้ง •สมาร์ทฟาร์เมอร์ (Smart Farmer) เกษตรอัจฉริยะ เพื่อเกษตกรไทย
อ่าน 5252 ครั้ง •แอ็พพลิเคชั่น (Application) เพื่อสมาร์ทฟาร์เมอร์ – เกษตรกรแห่งอนาคต
อ่าน 481 ครั้ง •หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Ministry of Digital Economy and Society)
อ่าน 757 ครั้ง •สมาร์ทฟาร์เมอร์ (Smart Farmer) เกษตรอัจฉริยะ เพื่อเกษตกรไทย
อ่าน 5252 ครั้ง •ฟินเทค (FinTech) คืออะไร
อ่าน 2757 ครั้ง •แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจอาหาร
อ่าน 2344 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) ต่างจาก แผนธุรกิจ (Business Plan) อย่างไร
อ่าน 1686 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) สำหรับสตาร์ทอัพ
อ่าน 1495 ครั้ง •ธุรกิจ Fitness เจาะเทรนด์สุขภาพ (อ่านบทความนี้ก่อนเริ่มทำฟิตเนส!)
อ่าน 1217 ครั้ง •เขียนแผนธุรกิจอย่างไรให้โดน
อ่าน 981 ครั้ง •ทำเบเกอรี่ขายส่ง ธุรกิจเงินล้านที่ "หอมหวน ชวนรวย"
อ่าน 870 ครั้ง •หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Ministry of Digital Economy and Society)
อ่าน 757 ครั้ง •แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจเกษตรอินทรีย์
อ่าน 709 ครั้ง •เงินสดหมุนเวียน หัวใจของธุรกิจ SMEs
อ่าน 700 ครั้ง •การวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์
อ่าน 636 ครั้ง •การวางแผนการลงทุนเพื่อขยายกิจการ
อ่าน 633 ครั้ง •การเขียนแผนธุรกิจเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุน
อ่าน 616 ครั้ง •สาเหตุอะไรที่สถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้
อ่าน 606 ครั้ง •การปรับโครงสร้างหนี้
อ่าน 604 ครั้ง •E - COMMERCE สำหรับสินค้า OTOP
อ่าน 604 ครั้ง •Business Model Canvas เครื่องมือสร้างโมเดลธุรกิจ
อ่าน 590 ครั้ง •เริ่มต้นธุรกิจใหม่ ต้องรู้ เตรียมตัวอย่างไร
อ่าน 582 ครั้ง •แหล่งเงินทุนของ SMEs
อ่าน 563 ครั้ง •25 | โมเดลธุรกิจ (Business Model) สำหรับสตาร์ทอัพ
4 ตัวอย่างโมเดลธุรกิจสุดใช่ ที่อาจทำเงินให้สตาร์อัพ นับล้าน! โดย methawee thatsanasateankit เขียนไว้มีเรื่องราวที่น่าสนใจสำหรับสตาร์ทอัพที่กำลังมองหาโมเดลธุรกิจ
ขั้นแรกเริ่มของสตาร์ทอัพนั้นเริ่มจากการค้นหาไอเดียที่แก้ปัญหาเดิมๆ ด้วยวิธีสดใหม่ไม่ซ้ำใคร ขั้นตอนระดมสมองค้นหาไอเดียจึงหนักหน่วง ต้องเค้นความสร้างสรรค์ออกมาทำงานอย่างไร้ขีดจำกัด แต่ต้องยอมรับความจริงว่าความท้าทายไม่สิ้นสุดเพียงแค่นั้น ไอเดียสตาร์ทอัพสุดคูลที่อายุสั้น เจ๊งภายในหนึ่งปีมีตัวอย่างให้เห็นนับไม่ถ้วน เพราะไอเดียดีที่ขาดโมเดลหาเงินอันชาญฉลาดนั้นเปรียบเสมือนระเบิดเวลาที่นับถอยหลังเพื่อรอคอยเวลาดับสูญจากวงการสตาร์ทอัพ
ดังนั้นหากใครมีไอเดียโดนอยู่ในกำมืออย่าลืมค้นหา Business Model ที่ใช่เพื่อผลกำไรที่ชอบด้วยนะคะ สำหรับใครที่คิดไม่ออก ลองดูตัวอย่าง Business Model ที่สตาร์ทอัพชื่อดังใช้กันดีกว่าคะ เผื่อเป็นแนวทางจุดประกายไอเดีย
1. Auction (การประมูล) โมเดลแบบนี้จะให้ลูกค้าเป็นคนกำหนดราคาที่พร้อมจะจ่ายเอง ซึ่งเจ้าของสินค้าหรือบริการจะตั้งราคาขั้นต่ำไว้ ข้อดีคือ ลูกค้าจะรู้สึกว่าดีเพราะตัวเองได้เป็นผู้กำหนดราคา แต่ข้อระวังของโมเดลแบบการประมูลนั้นต้องมั่นใจว่าราคาถูกกว่าราคาทั่วไปตามท้องตลาด
กลุ่มลูกค้า : ลูกค้าของโมเดลธุรกิจรูปแบบนี้จะเป็นลูกค้าที่ซื้อโดยพิจารณาจากราคาเป็นตัวตั้ง ยิ่งถูกยิ่งรู้สึกดี ยิ่งถูกยิ่งอยากซื้อในปริมาณเยอะหรือซื้อโดยไม่ตัดสินใจให้ถี่ถ้วน
ตัวอย่าง : สตาร์ทอัพอย่าง priceline เองก็เลือกใช้โมเดลรูปแบบการประมูลโดยให้ลูกค้ากำหนดราคาตั๋ว ราคาโรงแรม หรือ ราคาเช่าเอง ซึ่งหลายคนอาจคิดว่าถ้าขายถูกแบบนี้ต้องไม่รอดแน่ๆ ขอบอกเลยว่า priceline ทำกำไรเพิ่ม 50 เปอร์เซนต์แถมราคามูลค่าหุ้นก็พุ่งขึ้น 46 เปอร์เซนต์ เลยทีเดียว
2. Freemium ธรรมดาของคนชอบของฟรี เห็นของฟรีไม่ได้ต้องของลองใช้สักหน่อย เพราะเหตุนี้การออกสินค้าหรือบริการบางประเภทจึงต้องยอมให้ลูกค้าได้ทดลองใช้ฟรีก่อน และเมื่อลูกค้าชื่นชอบหรือติดตลาดแล้ว ค่อยเสนอทางเลือกพิเศษให้ลูกค้า ซึ่งจุดนี้แหละที่เก็บเงินได้
กลุ่มลูกค้า : กลุ่มที่ชอบทดลอง ชอบความแปลกใหม่ ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง เป็นคนตามเทรนด์
ตัวอย่าง : Application หาคู่อย่าง Tinder เองก็เปิดให้คนที่อยากหาคู่แต่ไม่มีเวลาลากนิ้วเลือกคู่ที่ตัวเองสนใจผ่านหน้าจอมือถือแบบฟรีๆ แต่ถ้าผู้ใช้คนไหนอยากใช้ฟังชั้นพิเศษไม่ว่าจะเปลี่ยนการลากนิ้วกลับ การปิดโฆษณา หรือ การปรับเปลี่ยนตำแหน่งที่ตั้ง ก็เลือกใช้ Tinder plus ได้ในราคา 324 บาทต่อเดือน
3. Subscription (ระบบสมาชิก) ระบบสมาชิกจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและสตาร์ทอัพให้แน่นเฟ้นไปอีกขั้นหนึ่ง และด้วยความสัมพันธ์ที่แน่นเฟ้นขึ้น สตาร์ทอัพจึงต้องเสนอสิทธิพิเศษเพื่อจูงใจให้ลูกค้าอยากสมัครสมาชิกเพื่อใช้บริการ สำหรับข้อดีของโมเดลนี้คือสตาร์ทอัพจะได้เงินจากลูกค้าล่วงหน้าและสามารถวางแผนเพื่อควบคุมต้นทุนการผลิตหรือต้นทุนการให้บริการได้ง่าย
กลุ่มลูกค้า : ระบบสมาชิกเหมาะกับกลุ่มลูกค้าที่ใช้สินค้าหรือบริการนั้นเป็นประจำ
ตัวอย่าง : Dollar shave club เกิดจากแนวความคิดที่ว่าคุณผู้ชายทุกท่านต้องมีมีดโกนหนวดประจำห้องน้ำกันทุกคนและเมื่อมีดโกนเริ่มไม่คมกริบก็ต้องเปลี่ยน Dollar shave club จึงเสนอตัวเป็นทางเลือกให้คุณผู้ชายสมัครสมาชิกและจัดส่งมีดโกนให้เป็นรายเดือนถึงบ้าน โดยประโยชน์ที่ได้รับก็แสนจะจูงใจ ซื้อมีดโกนหนวดแถมฟรีโฟมอีก 10 ชนิด ปัจจุบันสตาร์ทอัพรายได้เติบโตและทำกำไร 60 ล้านดอลล่าร์กันเลยเชียว
4. Bundled Pricing (ระบบขายยกเข่ง) จินตนาการง่ายๆ เลยว่า เรากำลังเดินตลาดและอยากซื้อผลไม้สัก 3 ชนิด ถ้าเราผลไม้ 3 ชนิดจากแม่ค้าคนเดียวจะต่อรองราคาก็ดูเหมือนแม่ค้ายินดีจะลดให้ การขายแบบยกเข่งก็เช่นเดียวกัน เป็นระบบที่สตาร์อัพอย่างขายพ่วงสินค้าหรือบริการทุกชนิดที่ตัวเองมีให้ลูกค้าโดยจัดเป็นแพคเกจพร้อมกับนำเสนอในราคาที่ดึงดูดใจ
กลุ่มลูกค้า : กรณีนี้ลูกค้าต้องมีความเชื่อมันในสินค้าหรือบริการของเราระดับหนึ่งจึงจะกล้าซื้อแพคเกจรวมหลากหลายสินค้าและบริการจากสตาร์อัพของเรา
ตัวอย่าง : Choozle เป็นบริษัทดิจิตอลเอเจนซี่ที่ขายแพคเกจการตลาดดิจิตอลแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่ขายโปรแกรมวิเคราะห์ลูกค้า เครื่องมือซื้อโฆษณา เครื่องมือสร้างแคมเปญการตลาด ช่องทางการอัพเดทลงโซเชียลมีเดียต่างๆ เรียกได้ว่า นักการตลาดซื้อเพคเกจเดียวอยู่หมัด
การค้นหา Business Model ที่ใช่ต้องพิจารณาจากความถนัดของทีมสตาร์ทอัพควบคู่กับความเป็นไปได้ในทางตลาด เพราะแต่ละโมเดลก็มีจุดอ่อนจุดแข็งแตกต่างกันและมีกลุ่มลูกค้าแตกต่างกัน การเลือก Business Model จึงเหมือนกับการเลือกคู่ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวแต่ถ้าเลือกคนที่ใช่ก็จะอยู่คู่กันยาวนาน
นอกจากนี้สตาร์ทอัพที่สนใจตัวอย่าง Business Model ที่เป็นที่นิยม ลองอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ “5 Business Model ที่ต้องรู้ก่อนทำ Startup” ได้ที่นี่
แหล่งข้อมูล :
5 Business Model ที่ต้องรู้ก่อนทำ Startup
#Entrepreneur : 4 ตัวอย่างโมเดลธุรกิจสุดใช่ ที่อาจทำเงินให้สตาร์อัพ นับล้าน!
ข้อมูลบนโลกออนไลน์ที่เผยแพร่แก่สาธารณะ
องค์ความรู้เพื่อการให้บริการแก่ SMEs จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น
สำหรับหน่วยให้บริการ SMEs ภายใต้โครงการศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร
จัดทำ ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2560
4 ตัวอย่างโมเดลธุรกิจสุดใช่ ที่อาจทำเงินให้สตาร์อัพ นับล้าน! โดย methawee thatsanasateankit เขียนไว้มีเรื่องราวที่น่าสนใจสำหรับสตาร์ทอัพที่กำลังมองหาโมเดลธุรกิจ
ขั้นแรกเริ่มของสตาร์ทอัพนั้นเริ่มจากการค้นหาไอเดียที่แก้ปัญหาเดิมๆ ด้วยวิธีสดใหม่ไม่ซ้ำใคร ขั้นตอนระดมสมองค้นหาไอเดียจึงหนักหน่วง ต้องเค้นความสร้างสรรค์ออกมาทำงานอย่างไร้ขีดจำกัด แต่ต้องยอมรับความจริงว่าความท้าทายไม่สิ้นสุดเพียงแค่นั้น ไอเดียสตาร์ทอัพสุดคูลที่อายุสั้น เจ๊งภายในหนึ่งปีมีตัวอย่างให้เห็นนับไม่ถ้วน เพราะไอเดียดีที่ขาดโมเดลหาเงินอันชาญฉลาดนั้นเปรียบเสมือนระเบิดเวลาที่นับถอยหลังเพื่อรอคอยเวลาดับสูญจากวงการสตาร์ทอัพ
ดังนั้นหากใครมีไอเดียโดนอยู่ในกำมืออย่าลืมค้นหา Business Model ที่ใช่เพื่อผลกำไรที่ชอบด้วยนะคะ สำหรับใครที่คิดไม่ออก ลองดูตัวอย่าง Business Model ที่สตาร์ทอัพชื่อดังใช้กันดีกว่าคะ เผื่อเป็นแนวทางจุดประกายไอเดีย
1. Auction (การประมูล) โมเดลแบบนี้จะให้ลูกค้าเป็นคนกำหนดราคาที่พร้อมจะจ่ายเอง ซึ่งเจ้าของสินค้าหรือบริการจะตั้งราคาขั้นต่ำไว้ ข้อดีคือ ลูกค้าจะรู้สึกว่าดีเพราะตัวเองได้เป็นผู้กำหนดราคา แต่ข้อระวังของโมเดลแบบการประมูลนั้นต้องมั่นใจว่าราคาถูกกว่าราคาทั่วไปตามท้องตลาด
กลุ่มลูกค้า : ลูกค้าของโมเดลธุรกิจรูปแบบนี้จะเป็นลูกค้าที่ซื้อโดยพิจารณาจากราคาเป็นตัวตั้ง ยิ่งถูกยิ่งรู้สึกดี ยิ่งถูกยิ่งอยากซื้อในปริมาณเยอะหรือซื้อโดยไม่ตัดสินใจให้ถี่ถ้วน
ตัวอย่าง : สตาร์ทอัพอย่าง priceline เองก็เลือกใช้โมเดลรูปแบบการประมูลโดยให้ลูกค้ากำหนดราคาตั๋ว ราคาโรงแรม หรือ ราคาเช่าเอง ซึ่งหลายคนอาจคิดว่าถ้าขายถูกแบบนี้ต้องไม่รอดแน่ๆ ขอบอกเลยว่า priceline ทำกำไรเพิ่ม 50 เปอร์เซนต์แถมราคามูลค่าหุ้นก็พุ่งขึ้น 46 เปอร์เซนต์ เลยทีเดียว
2. Freemium ธรรมดาของคนชอบของฟรี เห็นของฟรีไม่ได้ต้องของลองใช้สักหน่อย เพราะเหตุนี้การออกสินค้าหรือบริการบางประเภทจึงต้องยอมให้ลูกค้าได้ทดลองใช้ฟรีก่อน และเมื่อลูกค้าชื่นชอบหรือติดตลาดแล้ว ค่อยเสนอทางเลือกพิเศษให้ลูกค้า ซึ่งจุดนี้แหละที่เก็บเงินได้
กลุ่มลูกค้า : กลุ่มที่ชอบทดลอง ชอบความแปลกใหม่ ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง เป็นคนตามเทรนด์
ตัวอย่าง : Application หาคู่อย่าง Tinder เองก็เปิดให้คนที่อยากหาคู่แต่ไม่มีเวลาลากนิ้วเลือกคู่ที่ตัวเองสนใจผ่านหน้าจอมือถือแบบฟรีๆ แต่ถ้าผู้ใช้คนไหนอยากใช้ฟังชั้นพิเศษไม่ว่าจะเปลี่ยนการลากนิ้วกลับ การปิดโฆษณา หรือ การปรับเปลี่ยนตำแหน่งที่ตั้ง ก็เลือกใช้ Tinder plus ได้ในราคา 324 บาทต่อเดือน
3. Subscription (ระบบสมาชิก) ระบบสมาชิกจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและสตาร์ทอัพให้แน่นเฟ้นไปอีกขั้นหนึ่ง และด้วยความสัมพันธ์ที่แน่นเฟ้นขึ้น สตาร์ทอัพจึงต้องเสนอสิทธิพิเศษเพื่อจูงใจให้ลูกค้าอยากสมัครสมาชิกเพื่อใช้บริการ สำหรับข้อดีของโมเดลนี้คือสตาร์ทอัพจะได้เงินจากลูกค้าล่วงหน้าและสามารถวางแผนเพื่อควบคุมต้นทุนการผลิตหรือต้นทุนการให้บริการได้ง่าย
กลุ่มลูกค้า : ระบบสมาชิกเหมาะกับกลุ่มลูกค้าที่ใช้สินค้าหรือบริการนั้นเป็นประจำ
ตัวอย่าง : Dollar shave club เกิดจากแนวความคิดที่ว่าคุณผู้ชายทุกท่านต้องมีมีดโกนหนวดประจำห้องน้ำกันทุกคนและเมื่อมีดโกนเริ่มไม่คมกริบก็ต้องเปลี่ยน Dollar shave club จึงเสนอตัวเป็นทางเลือกให้คุณผู้ชายสมัครสมาชิกและจัดส่งมีดโกนให้เป็นรายเดือนถึงบ้าน โดยประโยชน์ที่ได้รับก็แสนจะจูงใจ ซื้อมีดโกนหนวดแถมฟรีโฟมอีก 10 ชนิด ปัจจุบันสตาร์ทอัพรายได้เติบโตและทำกำไร 60 ล้านดอลล่าร์กันเลยเชียว
4. Bundled Pricing (ระบบขายยกเข่ง) จินตนาการง่ายๆ เลยว่า เรากำลังเดินตลาดและอยากซื้อผลไม้สัก 3 ชนิด ถ้าเราผลไม้ 3 ชนิดจากแม่ค้าคนเดียวจะต่อรองราคาก็ดูเหมือนแม่ค้ายินดีจะลดให้ การขายแบบยกเข่งก็เช่นเดียวกัน เป็นระบบที่สตาร์อัพอย่างขายพ่วงสินค้าหรือบริการทุกชนิดที่ตัวเองมีให้ลูกค้าโดยจัดเป็นแพคเกจพร้อมกับนำเสนอในราคาที่ดึงดูดใจ
กลุ่มลูกค้า : กรณีนี้ลูกค้าต้องมีความเชื่อมันในสินค้าหรือบริการของเราระดับหนึ่งจึงจะกล้าซื้อแพคเกจรวมหลากหลายสินค้าและบริการจากสตาร์อัพของเรา
ตัวอย่าง : Choozle เป็นบริษัทดิจิตอลเอเจนซี่ที่ขายแพคเกจการตลาดดิจิตอลแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่ขายโปรแกรมวิเคราะห์ลูกค้า เครื่องมือซื้อโฆษณา เครื่องมือสร้างแคมเปญการตลาด ช่องทางการอัพเดทลงโซเชียลมีเดียต่างๆ เรียกได้ว่า นักการตลาดซื้อเพคเกจเดียวอยู่หมัด
การค้นหา Business Model ที่ใช่ต้องพิจารณาจากความถนัดของทีมสตาร์ทอัพควบคู่กับความเป็นไปได้ในทางตลาด เพราะแต่ละโมเดลก็มีจุดอ่อนจุดแข็งแตกต่างกันและมีกลุ่มลูกค้าแตกต่างกัน การเลือก Business Model จึงเหมือนกับการเลือกคู่ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวแต่ถ้าเลือกคนที่ใช่ก็จะอยู่คู่กันยาวนาน
นอกจากนี้สตาร์ทอัพที่สนใจตัวอย่าง Business Model ที่เป็นที่นิยม ลองอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ “5 Business Model ที่ต้องรู้ก่อนทำ Startup” ได้ที่นี่
แหล่งข้อมูล :
5 Business Model ที่ต้องรู้ก่อนทำ Startup
#Entrepreneur : 4 ตัวอย่างโมเดลธุรกิจสุดใช่ ที่อาจทำเงินให้สตาร์อัพ นับล้าน!
ข้อมูลบนโลกออนไลน์ที่เผยแพร่แก่สาธารณะ
องค์ความรู้เพื่อการให้บริการแก่ SMEs จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น
สำหรับหน่วยให้บริการ SMEs ภายใต้โครงการศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร
จัดทำ ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2560
การอ่าน | |
---|---|
1495 | ครั้ง (ทั้งหมด) |
0 | ครั้ง โดยสมาชิก |
1495 | ครั้ง โดยสาธารณะ |
แชร์ด้วยอีเมล
กรุณา ลงชื่อเข้าระบบ เพิ่มแชร์เนื้อหานี้ webpage ทางอีเมล