บทความน่ารู้
ทำธุรกิจ “แฟรนไชส์” ไม่ยาก หากทำตาม 6 ข้อนี้ รับรองรุ่งแน่!
อ่าน 317 ครั้ง •Food Truck ไม่ต้องมีหน้าร้านก็มีลูกค้าประจำได้
อ่าน 456 ครั้ง •8 อุตสาหกรรมที่ดีสำหรับการเริ่มต้นทำสตาร์ทอัพ
อ่าน 322 ครั้ง •ธุรกิจฮอตฮิตเกิดใหม่สูงสุด 3 อันดับแรกในเดือน พ.ค. 2562 คืออะไร ที่นี่มีคำตอบ
อ่าน 236 ครั้ง •ทำเบเกอรี่ขายส่ง ธุรกิจเงินล้านที่ "หอมหวน ชวนรวย"
อ่าน 893 ครั้ง •ธุรกิจ Fitness เจาะเทรนด์สุขภาพ (อ่านบทความนี้ก่อนเริ่มทำฟิตเนส!)
อ่าน 1257 ครั้ง •“สิงคโปร์” แซง “สหรัฐ” ขึ้นแท่นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในโลก
อ่าน 308 ครั้ง •ฟินเทค (FinTech) คืออะไร
อ่าน 3069 ครั้ง •เช็คลิสต์ โมเดลธุรกิจที่เหมาะกับการทำ อีคอมเมิร์ซ (eCommerce)
อ่าน 486 ครั้ง •ขายของออนไลน์ ทำอย่างไรให้รวย
อ่าน 349 ครั้ง •แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจเกษตรอินทรีย์
อ่าน 724 ครั้ง •การสนับสนุน SMEs โดยใช้ Crowd funding
อ่าน 560 ครั้ง •การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า – อย่าปล่อยให้โลโก้โดนขโมย
อ่าน 567 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) ต่างจาก แผนธุรกิจ (Business Plan) อย่างไร
อ่าน 1764 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) สำหรับสตาร์ทอัพ
อ่าน 1531 ครั้ง •เริ่มต้นธุรกิจใหม่ ต้องรู้ เตรียมตัวอย่างไร
อ่าน 614 ครั้ง •ผู้ประกอบการ SMEs เมื่อไหร่ ที่ต้องมีแบรนด์
อ่าน 265 ครั้ง •สมาร์ทฟาร์เมอร์ (Smart Farmer) เกษตรอัจฉริยะ เพื่อเกษตกรไทย
อ่าน 5495 ครั้ง •แอ็พพลิเคชั่น (Application) เพื่อสมาร์ทฟาร์เมอร์ – เกษตรกรแห่งอนาคต
อ่าน 488 ครั้ง •หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Ministry of Digital Economy and Society)
อ่าน 795 ครั้ง •สมาร์ทฟาร์เมอร์ (Smart Farmer) เกษตรอัจฉริยะ เพื่อเกษตกรไทย
อ่าน 5495 ครั้ง •ฟินเทค (FinTech) คืออะไร
อ่าน 3069 ครั้ง •แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจอาหาร
อ่าน 2396 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) ต่างจาก แผนธุรกิจ (Business Plan) อย่างไร
อ่าน 1764 ครั้ง •โมเดลธุรกิจ (Business Model) สำหรับสตาร์ทอัพ
อ่าน 1531 ครั้ง •ธุรกิจ Fitness เจาะเทรนด์สุขภาพ (อ่านบทความนี้ก่อนเริ่มทำฟิตเนส!)
อ่าน 1257 ครั้ง •เขียนแผนธุรกิจอย่างไรให้โดน
อ่าน 991 ครั้ง •ทำเบเกอรี่ขายส่ง ธุรกิจเงินล้านที่ "หอมหวน ชวนรวย"
อ่าน 893 ครั้ง •หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Ministry of Digital Economy and Society)
อ่าน 795 ครั้ง •แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจเกษตรอินทรีย์
อ่าน 724 ครั้ง •เงินสดหมุนเวียน หัวใจของธุรกิจ SMEs
อ่าน 717 ครั้ง •การวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์
อ่าน 645 ครั้ง •การวางแผนการลงทุนเพื่อขยายกิจการ
อ่าน 640 ครั้ง •Business Model Canvas เครื่องมือสร้างโมเดลธุรกิจ
อ่าน 626 ครั้ง •การเขียนแผนธุรกิจเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุน
อ่าน 625 ครั้ง •E - COMMERCE สำหรับสินค้า OTOP
อ่าน 617 ครั้ง •เริ่มต้นธุรกิจใหม่ ต้องรู้ เตรียมตัวอย่างไร
อ่าน 614 ครั้ง •สาเหตุอะไรที่สถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้
อ่าน 612 ครั้ง •การปรับโครงสร้างหนี้
อ่าน 611 ครั้ง •แหล่งเงินทุนของ SMEs
อ่าน 575 ครั้ง •Business Model Canvas เครื่องมือสร้างโมเดลธุรกิจ
Business Model Canvas เครื่องมือสร้างโมเดลธุรกิจ
Business Model Canvas เป็นเครื่องมือใหม่สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังคิดจะ “ลงทุน” เริ่มต้นธุรกิจ หรือปรับปรุงธุรกิจเดิมให้เติบโตมากยิ่งขึ้น เหตุที่ต้องเน้นคำว่า “ลงทุน” เพราะหลายคนน่าจะคุ้นเคยกับการทำ “Business Model” ที่ไม่ว่าจะกี่ตำราหรือนักธุรกิจกี่คนก็มักจะบอกว่า ก่อนจะเริ่มต้นธุรกิจที่ดี ควรมี Business Model ที่ชัดเจน เพื่อลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจนั้นๆ และทำให้เรารู้และเข้าใจภาพรวมของธุรกิจของตัวเองได้มากขึ้น
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว Business Model ยังไม่สามารถตอบโจทย์ภาพรวมของธุรกิจได้อย่างครบถ้วน Business Model Canvas จึงถูกพัฒนาขึ้นมาให้เป็นเครื่องมือสำเร็จรูป (template) โดย Alex Osterwalder เพื่อมาเติมเต็มช่องว่างของโมเดลธุรกิจ ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถมองเห็นภาพรวม (visualizing) ของธุรกิจได้ครบทุกมิติมากขึ้น ช่วยให้ผู้ประกอบการประเมินความเสี่ยงในการลงทุนได้ขึ้น เป็นการตอบโจทย์สำคัญของการทำธุรกิจ นั่นคือ ทำอย่างไรให้มี “กำไร” Business Model Canvas จึงเปรียบเสมือนแผนลงทุนของผู้ประกอบการด้วย Business Model ที่สมบูรณ์
Business Model Canvas จะเริ่มจากการลงรายละเอียดต่างๆ เพื่อตอบคำถามสำคัญของการทำธุรกิจ 4 ข้อ นั่นคือ ทำ (สินค้า) อะไร, ทำ (ขาย) ให้ใคร, ทำอย่างไร และคุ้มค่าแค่ไหน (ทางการเงิน) ซึ่งเราจะตอบคำถามเหล่านั้นด้วยหลักการทั้งหมด 9 ข้อ นั่นคือ
- ทำ (สินค้า) อะไร?
- คุณค่าสินค้าหรือบริการ : Value Proposition (VP) : เราจะต้องระบุลงไปให้ได้ว่า สินค้าหรือบริการของเรานั้นดีอย่างไร หรือสามารถให้อะไรกับลูกค้าได้บ้าง ซึ่งนี้สำคัญมาก เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ เช่น ความแปลกใหม่ของสินค้า, ใช้งานง่าย, ช่วยลดต้นทุน, ลดความเสี่ยง ฯลฯ ยกตัวอย่าง ใช้แล้วผิวขาวใส ใช้ได้ทุกสภาพผิวแม้ผิวแพ้ง่าย หรือบัตรสมาชิกไม่จำกัดผู้ใช้งาน ใครที่ถือบัตรสมาชิกมาก็สามารถรับส่วนลดได้หมดเป็นต้น
- ทำอย่างไร?
- ทรัพยากรหลัก : Key Resources (KR) : ทรัพยากรของบริษัทมีความสำคัญต่อการทำให้แผนธุรกิจสำเร็จ ซึ่งหมายถึงทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว และจำเป็นต้องมี ไม่ว่าจะเป็นเงินลงทุน หรือว่าเครื่องจักร เทคโนโลยีต่างๆ ก็ตาม ซึ่งรวมไปถึงทรัพยากรบุคคลด้วย ยกตัวอย่างสถาบันกวดวิชา จำเป็นต้องมีสถานที่สำหรับนั่งเรียน และจำเป็นต้องมีผู้มีความรู้หรือผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เป็นต้น
- กิจกรรมหลัก : Key Activities (KA) : งานหลักของธุรกิจคืออะไร เช่น การผลิต การให้บริการ การจัดงานเลี้ยง การสร้างเครือข่าย ยกตัวอย่าง ธุรกิจรับจัดโต๊ะจีน กิจกรรมหลักคือจะต้องทำอาหารจำนวนมากเป็นต้น
- พันธมิตร : Key Partnerships (KP) : กิจกรรมหลักบางอย่างเราไม่สามารถทำได้เอง หรือมีคนอื่นที่ทำได้ดีกว่า เราจึงต้องหาหุ้นส่วนทางธุรกิจ เพื่อกระจายความเสี่ยง และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ เช่น การจ้าง supplier หรือการหาคนร่วมหุ้นเพื่อพัฒนาธุรกิจเป็นต้น
- ทำ (ขาย) ให้ใคร?
- กลุ่มลูกค้า : Customer Segments (CS) : เราจะต้องระบุให้ชัดเจนว่ากลุ่มเป้าหมายเราเป็นใคร เพราะนี่คือหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ เพราะหากสินค้าที่ทำออกมาไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย การซื้อขายก็จะไม่เกิดขึ้นแน่นอน ดังนั้นเราจึงต้องวิเคราะห์ให้ดีว่ากลุ่มเป้าหมายของเราเป็นใครกันแน่ ต้องแยกให้ออกระหว่าง “ผู้ซื้อ กับ ผู้ใช้” ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์เด็กที่ผู้ใช้งานคือเด็ก แต่พ่อแม่เป็นคนซื้อ ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายของสินค้าเด็กคือพ่อแม่ เราจึงต้องใส่ใจความต้องการของพ่อแม่เป็นหลัก แต่ก็ต้องตอบสนองความต้องการของลูกได้ด้วย
- ช่องทางการเข้าถึง : Channels (CH) : ช่องทางไหนที่จะช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงลูกค้าได้บ้าง โดยจะต้องให้ความสำคัญทั้งช่องทางการสื่อสาร และช่องทางการส่งมอบสินค้าไปถึงมือลูกค้าด้วย
- ความสัมพันธ์กับลูกค้า : Customer Relationships (CR) : ธุรกิจจะต้องสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าในแบบไหนบ้าง ซึ่งแต่ละกลุ่มเป้าหมายก็จะมีรูปแบบการรักษาความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันไป เช่น การมี Call Center ให้ข้อมูลลูกค้าได้ 24 ชม.
- คุ้มค่าหรือไม่ทางการเงิน?
- รายได้หลัก : Revenue Streams (RS) : หมายถึงรูปแบบของรายได้ที่ธุรกิจจะได้รับกลับมา ซึ่งเราจะต้องมองให้ออกว่ารายได้จะเข้ามาด้วยวิธีการใด เช่น ค่าสมาชิก ค่าเช่าสัญญาณ ค่าสินค้า ค่าบริการ รวมไปถึงค่าโฆษณาด้วย ยกตัวอย่างเว็บไซต์ที่เปิดให้คนเข้าชมได้ฟรี รายได้ที่เข้าเว็บไซต์จึงมาจากการขายพื้นที่โฆษณา
- โครงสร้างต้นทุน : Cost Structure (CS) : ในแต่ละธุรกิจจะมีค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจ ซึ่งจะมีทั้งรายจ่ายที่คงที่และไม่คงที่ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าวัตถุดิบ ค่าเช่าสถานที่ รวมถึงค่าใช้จ่ายทางด้านการตลาดด้วยเช่นกัน เมื่อนำรายจ่ายเหล่านี้ไปลบกับ revenue streams ผลลัพธ์ที่ได้คือผลประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับกลับมา
เมื่อตอบคำถามในกล่องต่างๆ ได้แล้ว เราจะเห็นว่าข้อมูลในแต่ละกล่องจะมีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกันอยู่อย่างมีเหตุและผล ยกตัวอย่าง Business Model Canvas ของร้านสะดวกซื้อด้านล่างนี้
จะเห็นได้ว่า สินค้าคือเครื่องอุปโภคบริโภคที่มีราคาไม่แพง และเราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายจึงเป็นคนเพศทุกวัยในเขตชุมชน ซึ่งทรัพยากรหลักก็จะเป็นทำเลที่ตั้ง เงินสดหมุนเวียน ซึ่งภารกิจหลักของธุรกิจก็คือการเจรจาต่อรองซื้อขายต่างๆ ตลอดจนการโฆษณาขายสินค้าด้วย ทำให้ธุรกิจต้องการกลุ่ม Suppliers มาเป็นพันธมิตรทางการค้า โดยมีต้นทุนของธุรกิจในด้านของค่าบริหารจัดการตางๆ ค่าโฆษณา หรือค่ารักษาระบบไอทีเป็นต้น ซึ่งจะมีรายได้เข้ามาในรูปแบบของค่าแฟรนไชส์ ค่าเช่าพื้นที่ขายสินค้าเป็นต้น
หากใครอ่านแล้วยังงงๆ ลองไปดูคลิปวีดีโอ How to draw a business model canvas ประกอบ จะช่วยให้เข้าใจภาพรวมของการเขียน Business Model Canvas ได้มากยิ่งขึ้นค่ะ
https://www.youtube.com/watch?v=2tdpNKdH7sM
ใครที่สนใจและอยากนำเครื่องมือดีๆ แบบนี้มาใช้งาน สามารถเข้าไปโหลดมาใช้งานกันได้ฟรีที่ : businessmodelgeneration.com คลิกพบเว็บไซต์ https://strategyzer.com/canvas/business-model-canvas
Business Model Canvas ของคุณจะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ถ้าคุณใช้ควบคู่ไปกับ Lean Canvas ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณสามารถสร้างธุรกิจออกมาได้ตรงใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในเวลาอันรวดเร็วยิ่งขึ้น ตามไปอ่านกันได้ที่ “Lean Canvas เครื่องมือช่วยก่อตั้งธุรกิจให้พร้อมออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว และมีตลาดรองรับ” http://thaimarketing.in.th/2015/02/05/lean-canvas/
แหล่งข้อมูล :
- Business Model Canvas เครื่องมือใหม่ของผู้ประกอบธุรกิจ
- ข้อมูลบนโลกออนไลน์ที่เผยแพร่แก่สาธารณะ
องค์ความรู้เพื่อการให้บริการแก่ SMEs จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น
สำหรับหน่วยให้บริการ SMEs ภายใต้โครงการศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร
จัดทำ ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2560
การอ่าน | |
---|---|
626 | ครั้ง (ทั้งหมด) |
0 | ครั้ง โดยสมาชิก |
626 | ครั้ง โดยสาธารณะ |
แชร์ด้วยอีเมล
กรุณา ลงชื่อเข้าระบบ เพิ่มแชร์เนื้อหานี้ webpage ทางอีเมล